วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12
(วันที่25เมษายน 2561)


ความรู้ที่ได้รับ





 วันนี้ก่อนเข้าเรียนได้นำสื่อที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ (ถาดไข่) มาให้เด็กๆอนุบาล 2 ได้ทดลองเล่น
หลังจากที่เด็กๆ เด็กๆชอบและเข้าใจในสื่อที่พวกเราได้ทำขึ้น สื่อของพวกเราได้สอนเรื่อง การนับเลข
การเปรียบเทียบจำนวน การสังเกต ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานด้วยค่ะ



นำเสนอสื่อการจัดประสบการ์ณคณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้(ถาดลองไข่)กลุ่ม 121









หลังจากที่นำเสนอและจัดสื่อเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้คำแนะว่าควรปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนไหน
เพื่อให้สื่อออกมาสมบูรณ์และมีคุณค่ามากยิ่งขึ่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย 


และอาจารย์ได้สอนและทบทวนเกี่ยวกับการเรียนเรื่องขั้นนามธรรม ขั้นอนุรักษ์ว่าเป็นอย่างไร
และเราจะจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างไรให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก 


ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ



วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11
(วันที่20เมษายน 2561)



 

ความรู้ที่ได้รับ




          วันนี้อาจารย์นัดดูความคืบหน้าของงานคือสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากวัสดุเหลือใช้คือแฝงไข่
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่ม ว่าต้องแก้ไข้หรือต้องเพิ่มเติมในส่วนไหนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

  กลุ่มของดิฉันทำสื่อคือเกี่ยวกับการเปรียบเทียบจำนวนอาจารย์ให้คำแนะนำให้ไปลองเล่นกับเด็ก


การนำเสนอ



นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส นำเสนอบทความเรื่อง นิทานกับสื่อการสอนคณิตศาสตร์
               สรุป การนำนิทานมาใช้สร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถใช้นิทานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนิทานพื้นบ้านที่เล่ากันมาช้านานโดยอาจมีการดัดแปลงเนื้อหาบ้างเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน หรือครูผู้สอนอาจแต่งเรื่องราวของนิทานขึ้นเองโดยผูกโยงสถานการณ์ใกล้ตัวของผู้เรียน เพื่อสร้างเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ จูงใจให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนโยงไปสู่เนื้อหาสาระที่จะสอดแทรกหรือบูรณาการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนในที่สุดการแต่งนิทานเพื่อนำมาใช้จัดกระบวนการเรียนรู้มีหลักสำคัญ คือ เรื่องราวของนิทานควรมีความสนุกสนาน กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ หรือเกิดปมประเด็นปัญหาที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ที่จะนำไปสู่การปมปัญหาที่จะให้ผู้เรียนหาคำตอบและเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ หากเรื่องเล่าสนุกและผู้เล่าสามารถเล่าได้อย่างสนุกสนาน ชวนให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ น่าตื่นเต้นและมีการทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไป นักเรียนก็จะอยากรู้จนต้องเก็บไปคิดและพยายามหาคำตอบด้วยตนเอง นั่งคือความสำเร็จของนิทานที่จะกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเรียนของเด็กได้


นางสาวปิยะธิดา ประเสริฐสังข์ นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง การนับเลขจากสิ่งรอบตัว
จากวีดิโอข้างต้นจะเห็นได้ว่าคุณครูสอนให้เด็กปฐมวัยนับเลข 1-10 โดยเปรียบเทียบจากสิ่งต่างๆรอบตัว เช่น เลข 1 เหมือนเสาธง เลข 2 เหมือนเป็ดไหว้น้ำ เพราะเป็ดมีหัวงอเหมือนเลข 2 เลข 3 เหมือนนกบิน เป็นต้น ระหว่างการคุณครูก็ให้เด็กพูดและทำท่างทางประกอบด้วย ซึ่งการสอนในลักษณะนี้จะทำให้เด็กจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีค่ะ 





นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา นำเสนอบทความเรื่อง พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย 1-6ปี

เทคนิคช่วยส่งเสริมลูก : เด็กๆ วัยนี้ส่วนใหญ่เริ่มจำชื่อเรียกของตัวเลขต่างๆ ได้แล้วค่ะ (รู้ว่า 1 คือหนึ่ง 2 คือสอง…) กิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับวัยนี้ อาจจะเป็น การหาตัวเลข เช่น ให้เด็กๆ หยิบตัวเลขที่เราพูดออกจากกอง หาตัวเลขจากในหนังสือ หรือชี้ตัวเลขจากสถานที่รอบๆ ตัว แล้วตอบว่าเป็นเลขอะไร เป็นต้นค่ะ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยเรื่องความจำแล้ว ยังฝึกให้เด็กๆ รู้จักการสังเกตอีกด้วยนะคะ นอกจากนี้ การเริ่มสอบนับจำนวนแบบง่ายๆ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับเด็กวัยนี้ โดยอาจจะสอนการนับผ่านเพลง (เช่นเพลง 5 little monkeys , 3 little ducks) ซึ่งวิธีนี้ครูพิมได้ใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อให้เด็กๆ สนุกสนานกับการนับ และมีทัศนคติที่ดีกับเรื่องของตัวเลขค่ะ

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย




ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ