วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธ ที่24 พ.ศ 2561


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ติดประชุมแต่ได้มอบหมายงานให้ทำคือ เกมการศึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ดิฉันได้ทำ เกมนาฬิกาพาสนุก โดยในเกมจะมีนาฬิกาและเวลามาให้ และมีบัตรคำ
จากนั้นให้ดูว่าบัตรคำเวลาตรงกับนาฬิกาเรือนไหนแล้วให้นำไปแปะที่นาฬิกา
ทำให้เด็กๆได้รู้ถึงการนับเวลาและการดูตัวเลข 

**เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล 1-3




     


ประเมินผล  ❤  

   ประเมินตนเอง : วันนี้ดิฉันตั้งใจทำค่ะเข้าเรียนตรงเวลา

    ประเมินเพื่อน   : ผลงานของเพื่อนๆน่าสนมากค่ะและเพื่อนๆตั้งใจทำ                                         

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันที่ 19  มกราคม  2561
                                 


  วันนี้เริ่มเรียนการเขียนแผนผังสรุปความคิด  เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    โดยแบ่งหัวข้อ  3 หัวข้อ    ดังนี้


1.การจัดประสบการณ์      ได้แก่   
         1.1 แนวคิดนักการศึกษา    
         1.2 หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์    
         1.3 รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
         1.4 การออกแบบหน่วยการเรียน
         1.5 ทักษะคณิตศาสตร์ที่เด็กควรปฏิบัติได้
         1.6 สาระของหน่วยที่เด็กควรเรียนรู้
         1.7 การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
         1.8 สื่อ-อุปกรณ์ ในการจัดประสบการณ์
         1.9 การประเมิน
         1.10 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในชั้นเรียน
         1.11 บทบาทของผู้ปกครอง
2.คณิตศาสตร์    ได้แก่
         2.1 ความหมาย
         2.2 ความสำคัญ
         2.3 สาระการเรียนรู้  เช่น การนับ-จำนวน    ปริมาณ-ปริมาตร  การวัด  การเปรียบเทียบ-เรียงลำดับ  รูปทรง-ความสัมพันธ์
3.เด็กปฐมวัย    ได้แก่
         3.1 พัฒนาการด้่นสติปัญญา
         3.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
         3.3 พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  เช่น ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์-จิตใจ   ด้านสังคม  ด้านสติปัญญา

 การเขียนแผนผังความคิด ครั้งที่ 1  มีการเขียนที่ยังไม่ถูกต้อง ตามหลักการเขียนแผนผังความคิดและต่อมาอาจารย์
ให้นำกลับมาแก้ไขและได้ให้คำแนะนำ แผ่นผังครั้งที่2 เริ่มดีขึ้นเขียนได้ถูกต้องตามหลักการโดยเขียนให้สมดุลกับกระดาษ เขียนหัวข้อใหญ่ให้อยู่ตรงกลาง และการให้เส้นและสีให้ดูง่ายสบายสายตา

การเรียนการสอนในวันนี้

1. กิจกรรมฝึกกระบวนการคิด
อาจารย์ได้เริ่มกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตารางการตื่นนอน โดยการให้นักศึกษานำชื่อของตนเองไปติดในตารางตามเวลาการตื่นนอนของตนเอง โดยมีตื่นก่อน 8 โมง ตื่น  โมง และตื่นหลัง 8 โมง 

สามารถทำให้รู้ว่า คนที่ตื่นนอนก่อนเวลา 8.00 น. มีจำนวน 10 คน  และ  คนที่ตื่นหลัง  8.00 น. มีจำนวน 14 คน  
การเปรียบเทียบทำให้รู้ว่า คนที่ตื่นนอนก่อนเวลา 8.00 น.มีจำนวนน้อยกว่า คนที่ตื่นหลัง 8.00 น.
การลบเลข  ทำโดยให้แต่ละคนดึงแผ่นชื่อออกไปพร้อมกันทั้ง 2 ฝั่ง  ก็จะทำให้ทราบจำนวนที่เหลือ

                                                               8.00  
คนที่ตื่นนอนก่อน  8.00 น
                  คนที่ตื่นนอนหลัง 8.00





 
จากตารางข้างต้นสิ่งที่เราได้จากตารางนี้คือ การออกแบบสื่อที่เหมาะสมและคุ้มค่า การใช้สื่อนี้กับการสอนเด็กคือ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่อง
  • เวลา 
  • สัญลักษณ์แทนค่าจำนวน 
  • การใช้เลขฮินดูอารบิกแทนจำนวน 
  • ตัวเลข,จำนวน,การเรียงลำดับ 
โดยครูต้องเป็นผู้ออกแบบสื่อให้เด็กให้เหมาะสมกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก และควรรู้วิธีการเรียนรู้ของเด็กว่าแต่ละวัยนั้นควรออกแบบสื่ออย่างไรจึงจะเหมาะสม เพราะเด็กนั้นเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 


ประเมินตนเอง
 วันนี้เข้าเรียนตรงตามเวลาค่ะแต่จะมีไม่เข้าใจบ้างแต่พออาจารย์อธิบายก็ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ ในการแผนผังก็เข้าใจดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งค่ะ และตั้งใจฟังที่อาจารย์ค่ะ

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้เล่นสนุกมากค่ะ อาจารย์บอกว่าหนูไม่ค่อยยิ้มหนูจะยิ้มเยอะๆนะคอาจารย์ บางทีอาจารย์นี่แหละค่ะทำให้หนูยิ้ม ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะ 😆😆😆😆😆😆😆😆
                                                                    **ไม่ได้มาเรียนอ้างอิงข้อมูลจากนางสาวสุชัญญา บุญญบุตร

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 
วันที่ 12  มกราคม  2561



วันนี้อาจารย์ชี้แจงแนวการสอนในรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในส่วนเนื้อหาที่จะเรียนตามจุดประสงค์ในรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เวลาในการเรียน และคะแนนในรายวิชา   ให้สร้างบล็อกบันทึกหลังการเรียนรู้ รวมทั้งหาบทความ  การวิจัย  สื่อการสอนที่เกี่ยวในการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
              สุดท้ายการเรียนเป็นการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับรายในวิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อทราบความรู้ที่มีอยู่ของแต่ละคนให้อาจารย์ทราบค่ะ


ประเมินเพื่อน

      วันนี้เพื่อนส่วนมากมาเข้าเรียนอย่างตรงต่อเวลาค่ะ  ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
       
วันนี้อาจารย์มีการชี้แจงในเรื่องการบ้านอย่างชัดเจนเป็นอย่างดีค่ะ  ให้ความสำคัญกับนักศึกษาเป็นอย่างดี






สรุปงานวิจัย 
งานวิจัย การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

ของ นางสุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ /หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชา หลักสูตรและการนิเทศ /มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2548



 คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์รวมถึงเป็นความรู้เครื่องมือที่ใชอยู่ในชีวิตประจำวัน การเตรียมความพร้อมที่สอดคล้องกับธรรมชาติและวุฒิภาวะและความสนใจมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นประสบการณ์สำคัญของเด็กที่ควรได้รับและส่งเสริมให้พัฒนา โดยผู้วิจัยได้จัดทำวิจัยการเปรียบเทียบประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตสาสตร์ โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูและการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงเพื่อความพร้อมของเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี เนื่องจากเกมการศึกษาและเพลงเป็นสื่อที่นักเรียนชอบ เหมาะสมกับวัย ช่วยให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เข้าใจบทเรียนได้ดีและเร็วขึ้น เพื่อจะได้ปูพื้นฐานที่มั่นคงในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไป และเพื่อแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำกว่าพัฒนาการด้านอื่นๆ

     การวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนักรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนสองกลุ่ม โดยจัดประสบการณ์ตามแผนการสอน
     ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ของโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี โดยสุ่มตัวอย่างจาก 2 ห้องเรียน คือห้อง 2/4 และห้อง 2/6 ห้องเรียนละ 30 คน โดยห้อง 2/4 เป็นกุ่มทดลอง และ 2/6 เป็นกลุ่มควบคุม
กลุ่มควบคุม     ได้รับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
กลุ่มทดลอง     ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
เนื้อหาที่นำมาใช้ทดลอง คือ เนื้อหาที่สร้างแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1) การนับสิ่งต่างๆ 2) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง 3)การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ 4)การนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

วิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง 
         โดยเริ่มต้นทดสอบก่อนเรียน แล้วใช้เกมและเพลงที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เร้าความสนใจของเด็ก นำเข้าสู่บทเรียน ให้ความรู้ใหม่โดยครูอธิบายกติกาการเล่นเกมแต่ละเกมแล้วนักเรียนแบ่งกลุ่มทดลองเล่นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทำการสังกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ ให้เด็กสรุปความรู้ที่ได้จากการเล่น ทดสอบหลังเรียน

วิธีการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
          โดยเริ่มต้นทดสอบก่อนเรียน ครูแจกเกมการศึกษาอธิบายวิธีการเล่นเกมการศึกษาแต่ละชนิด นักเรียนทดลองเล่นเกมการศึกษาและเล่นตามคู่มือครู ทำการสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ สรุปความรู้ที่ได้รับ ทดสอบหลังเรียน

ผลสรุป หลังจากจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองปละกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน  โดยความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเเละเพลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยเนื้อหาการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด และการนับจำนวนเพิ่ม ลด ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด จากความคิดเห็นของนักเรียนพบว่า เด็กมีควมพึงพอใจในการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาทุกด้าน ทั้งบรรยากาศ และวิธีการ
        

ดูตัวอย่างแผนได้ที่ https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwi7wbm_55TKAhWCcY4KHdFmADYQFgggMAE&url=http%3A%2F%2Fwww.thapra.lib.su.ac.th%2Fobjects%2Fthesis%2Ffulltext%2Fsnamcn%2FSutheera_Thaowetsuwan%2FFulltext.pdf&usg=AFQjCNEpNzUpPF1WFYmmVrLtGURmMu-yLQ&sig2=cCyFJLZtKW4Gkj9MbcU8ww&bvm=bv.110151844,d.c2E




                                      สรุปวีดีโอสื่อการสอน

                   เรื่อง เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม


 เทคนิคการแก้ปัญหาการลบเลขแบบไม่ต้องยืม โดย ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เห็นว่าวิธีการลบเลขแบบที่เราเคยเรียนมา นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหา เมื่อเวลาที่ต้องลบเลขแบบตัวตั้งบางตัว เป็นตัวเลขที่น้อยกว่าตัวที่นำมาลบ เพราะนักเรียนต้องใช้วิธีการยืม เมื่อต้องยืมตัวเลขไปมาก็อาจจะทำให้ลืมที่จะต้องยืมได้ ค่าหรือคำตอบที่ได้ก็จะผิดพลาด เมื่อเด็กคิดผิดเด็กก็จะไม่อยากเรียน ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ไปในที่สุด แต่หากเป็นตัวตั้งที่มากกว่าก็ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น อ.ชัยศักดิ์จึงได้คิดค้นวิธีการลบเลขแบบใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และไม่ยุ่งยากในการลบเลข โดยได้ถ่ายทอดเทคนิคนี้ให้กับครูอีก ท่านไปใช้อีกด้วยเป็นการสอนคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียน สามารถคิดเลขได้ดี การลบเลขของนักเรียนนั้นส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียนที่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ มีความชอบและความเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้อยากเรียน และมีกำลังใจในการเรียนรู้วิชาคณิศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้คุณครูทั้งหลายได้มีวิธีการสอนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ถ้าเข้าใจ สนุก นักเรียนก็จะมีความสุขและรักการเรียนมากขึ้น 

ตัวอย่าง 



ซึ่งวิธีการนี้อาจจะทำให้เด็กยืมและลืม สับสนว่าเลขใดเป็นเลขใด หากคิดเลขผิดไปหนึ่งตัวก็จะทำให้คำตอบผิดไปได้ ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ จึงคิดวิธีการลบเลขโดยไม่ต้องยืม โดยมีวิธีการดังนี้ วิธีการก็คือ เปลี่ยนตัวเลขตัวตั้งที่น้อยกว่าตัวลบให้เป็นเลขฐานสิบที่มากที่สุดคือเลข 9 และตัวตั้งที่มากกว่าอยู่แล้วให้ลบออกไป 1 ตัวอย่างเช่น

 ซึ่ง 4,204 ยังไม่ใช่คำตอบของโจทย์นี้เพราะตั้งตั้งได้เปลี่ยนไป วิธีการต่อมาคือ การนำคำตอบ แล้วตัวเลขที่ถูกเปลี่ยนจากโจทย์คือ 204 มาบวกกับ 1 อีก ซึ่ง 1 คือตัวเลขที่ถูกลบจากตัวตั้งที่มากกว่า



เพียงเท่านี้เราก็จะได้คำตอบของโจทย์นี้ โดยไม่ต้องใช้การขอยืม ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนคณิตศาสตร์และเข้าใจได้ง่ายขึ้น วิธีการนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีสมองช้าและสมองปานกลาง

**ครูมีหน้าที่แก้ปัญหาไม่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับเด็กกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ก็ตาม**

อ้างอิงวีดีโอ   
https://youtu.be/JS1Wa-wCW2I?t=17

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561



สรุปบทความ
เรื่อง การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูก 

    การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูก พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ และสนับสนุน เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นแรงขับสำคัญในการเรียน ถ้าเด็กมีความกังวล และขาดความเชื่อมั่นในวิชาคณิตศาสตร์ ก็จะส่งผลต่อผลการเรียน และการผลการทดสอบในวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย พ่อแม่บางคนอาจจะรู้สึกเฉยๆ กับการที่ลูกขาดความมั่นใจในวิชาคณิตศาสตร์ เพราะอาจจะคิดว่าก็แค่การที่ลูกไม่ชอบเรียนในวิชาหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะว่า ความเชื่อมั่นในวิชาคณิตศาสตร์ จะเป็นตัวบั่นทอนความมั่นใจในตัวลูกของเราไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น เด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเองไปในที่สุดบทบาทของพ่อแม่ที่เหมาะสมที่สุดในการสนับสนุนการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูกคือ การเสริมความมั่นใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูกให้คุณพ่อคุณแม่นึกในใจเสมอว่า "ความมั่นใจ" เป็นปัจจัยสำคัญมากๆ ในการเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี ปัจจัยที่จะทำให้เด็กเสียความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงอนุบาล 3 ถึง ประถมศึกษาปีที่ คือ การที่เด็กคำนวณช้า หรือคำนวณผิด ถ้าลูกของเราบวก ลบ เลขได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ บอกคำตอบช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ เขาก็จะเสียความมั่นใจไปเรื่อยๆ ดังนั้นการเสริมความมั่นใจให้กับเด็กในวัยนี้ที่ดีที่สุด คือ การซื้อแบบฝึกหัดทักษะการคำนวณ มาให้ลูกได้ฝึกทำอย่างสม่ำเสมอเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าลูกของเราบวก ลบ หรือคำนวณได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เขาก็จะมีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น



ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่
     1. คอยดูแบบฝึกหัด หรือการบ้านคณิตศาสตร์ของลูกเรา
     2. จัดสรรเวลาให้ลูกได้ฝึกทำแบบฝึกหัดประเภทโจทย์ปัญหาในระดับที่เหมาะสมกับศักยภาพของเขา
     3. ควรจัดสรรเวลา ควบคู่ไปกับเวลาเล่นของลูกครับ เช่น ถ้าทำเสร็จ 10 ข้อ แล้วค่อยไปเล่น
     4. ควรถามให้ลูกเราอธิบายข้อที่เขาทำได้ถูก และชื่นชมเขา
     5. ถ้าเราทราบว่าลูกเราชอบทำผิดในส่วนไหนซ้ำๆ ให้เราใช้ปากกาวง หรือชี้จุดที่ควรระวังให้ลูกเรา ก่อนที่จะให้เขาทำ
     6. ย้ำกับลูกเสมอว่า ให้อ่านโจทย์ดีๆ ว่า โจทย์ให้ข้อมูลอะไรมา ให้ความสัมพันธ์ หรือเงื่อนไขอะไรมา และสุดท้ายต้องย้ำให้ลูกเราเตือนตัวเองเสมอว่า ให้อ่านให้รอบคอบว่าโจทย์ถามอะไร
     7. การปลูกฝัง ให้ลูกเรียนหนังสือกับเพื่อน ช่วยติวให้เพื่อน นั่งทำแบบฝึกหัดกับเพื่อน
     8. ถ้าลูกเราอยู่ในระดับ ป.ขึ้นไปแล้ว ไม่ควรให้ลูกเราฝึกทำแต่แบบฝึกหัดฝึกทักษะคำนวณ เพราะเด็กจะรู้สึกเบื่อหน่าย
     9. วิธีที่ทำให้เด็กสนุก และเข้าใจกับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด คือ การใช้ภาพในการตีความโจทย์
     10. เปิดโอกาสให้ลูกได้ไปสอบแข่งขันบ้าง

สรุป 
สิ่งที่สำคัญในการทำให้ลูกเราเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ  อันดับแรกคือความมั่นใจของลูก ส่วนอันดับที่สอง คือการฝึกทบทวนกับเพื่อนๆ และอันดับที่ คือการฝึกทำแบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย มีการจัดสรรเวลาที่ดี กับเวลาเล่น หรือเวลานันทนาการ พ่อแม่คือส่วนสำคัญของลูกที่จะพัฒนาความมั่นใจ และความชอบในการเรียนคณิตศาสตร์ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดที่สุด

อ้างอิงบทความ