วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
(วันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 )


ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอบทความ และ วิจัย อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับการนำเสนอ
บทความ ว่านำเสนออย่างอย่างให้น่าสนใจและคนอื่นเข้าใจได้ง่าย เช่น การใช้ power-point จะให้
เข้าใจและมองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น และการใช้ภาษาในการนำเสนอ และก่อนนำเสนอต้องบอก
ชื่อและที่มาของบทความและวิจัยก่อน








นางสาวรุ่งฤดี โสดา นำเสนอบทความเรื่อง  คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ 

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
    1. การจำแนกประเภท
    1. การจัดหมวดหมู่
    1. การเรียงลำดับ
    1. การเปรียบเทียบ
    1. รูปร่างรูปทรง
    1. พื้นที่
    1. การชั่งตวงวัด
    1. การนับ
    1. การรู้จักตัวเลข
    1. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
    1. เวลา
    1. การเพิ่มและลดจำนวน


จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่


นางสาวรัตนา พงษา นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

 สรุป หลักการในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีดังนี้ สอนให้สอดคล้องกบพัฒนาการและชีวิตประจําวันของเด็กเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนให้มากที่สุด ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงจากกิจกรรมที่ง่ายไปหายากจนสามารถค้นพบและสามารถสร้างความรู้ ได้ด้วยตนเอง โดยใช้กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีความเป็นรูปธรรมครูมีบทบาทในการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผอนคลายเป็นกันเองไม่ เคร่งเครียด โดยมี การวางแผนอยางเป็นขั้นตอนและชัดเจนเริ่มจากง่ายไปหายากจากวัสดุของจริงไปสู่สัญลักษณ์


  หลังจากที่เพื่อนนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ1แผ่น โดยให้พวกเราดูว่า
กระดาษมีมากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนคน และอาจารย์ได้ให้ออกไปเขียนเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์


 ** 

กระดาษมีมากกว่าคนอยู่ 4 แผ่น

กระดาษ > คน = 4 แผ่น
   21       > 17  =  4แผ่น
   21    - 17 = 4 




  


อาจารย์บอกว่าการที่เราจะทำให้เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เลยอาจจะอยาก
เกินไปสำหรับเด็ก อาจารย์เลยเขียนว่า ใครที่ชอบกินส้มตำ หรือ ลาบไก่ ให้พวกเรา
ออกไปเขียนทำให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีคนชอบทานส้มตำมากกว่าลาบไก่กิจกกรมนี้สามรถนำไปใช้กับเด็กได้เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้นและมองเห็นภาพได้ชัดเจน


กิจกกรมต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนว่า คณิตศาสตร์อยู่แห่งหนใดบ้าง ?
เช่น โรงเรียน วัด ห้าง ตลาด โรงพยาบาล บ้าน สวนสาธารณะ 

กิจกกรมต่อมาอาจารย์ให้เขียนว่า คณิตศาสตร์ใช้เมื่อใดบ้าง ?
เช่น ชั่งน้ำหนัก ซื้อของ โอนเงิน ไปตลาด เข้าร้านเกมส์


และกิจกกรรมสุดท้ายคืออาจารย์ให้พวกเราปรบมือตามจังหวะเพลง และให้พวกเราเขียนสัญลักษณ์
แทนท่าทางที่เราทำ และก่อนออกจากห้องอาจารย์ได้มีเพลงเกี่ยวกับคณิตศาตร์ให้เราร้องด้วยค่ะ






การประเมิน 

ประเมินตนเอง: ตั้งใจทำกิจกรรมค่ะและสนุกกับการเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจและตอบคำถามอาจารย์ได้ดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกมากๆเลยค่ะวันนี้มีกิจกกรมให้ทำหลากหลาย


วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธ ที่31 มกราคม พ.ศ2561



   ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาแล้วนักศึกษาหยิบไปคนละ1แผ่น เพื่อนบางคนยังได้กระดาษไม่ครบ
ในห้องมีนักศึกษาจำนวน 19 แต่กระดาษมีแค่ 17 แผ่น อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่าจากปัญหานี้
สามารถนำมาเป็นโจทย์คณิตศาสตร์ได้อย่างไร


           กระดาษมีจำนวนน้อยกว่าคน
            
           กระดาษ < คน 
           
           17<19 
      
           19-17 =2 



  ต่อมาอาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น อาจารย์ให้พับกระดาษเป็น2ส่วน ซึ่งแต่ละคน
  ก็พับในลักษณะที่คล้ายกัน เพราะพวกเรากลัวว่าจะผิด และต่อมาอาจารย์บอกว่าให้พับอีก
1 ครั้ง ก็ยังมีคนพับเหมือนๆกันอยู่เพราะกลัวผิดกลัวโดนว่า แต่อาจารย์บอกว่า อาจารย์
ไม่ได้กำหนดว่าทั้งสองส่วนต้องเท่ากันจะพับแบบไหนก็ได้ ดังนั้นเราจึงคิดดีๆก่อน
และหลังจากนั้นพวกเราก็พับกระดาษได้ไม่ซ้ำกับของเพื่อนๆ





 **คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพัฒนาการซึ่งกิจกรรมนี้ก็ส่งเสริมให้เด็กได้คิด
พัฒนาการคือ พฤติกรรมที่แสดงออกมาในแต่ละระดับอายุ พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้น
อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นบันได


การประเมินผล
 
ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจทำกิจกรมและคิดตามในสิ่งที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน:   เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีเล่นโทรศัพย์บ้าง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจและสนุกมากๆค่ะ