วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13
(วันที่2พฤษภาคม 2561)




ความรู้ที่ได้รับ   




สื่อ ลูกเต๋าเสี่ยงทาย







วันนี้นำเสนอสื่อที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ (ถาดรองไข่) หลังจากที่นำสื่อไปให้น้องๆได้ลองสำผัสได้ลองเล่น
เด็กที่ได้ทำสื่อไปให้ลองเล่นคือ เด็กอนุบาล 2 ซึ่งสังเกตุพฤติกรรมของน้องๆ ได้ดังนี้

- เด็กยังไม่คุ้นเคยเด็กมีอาการเขิลอายเล็กน้อย

-เด็กยังไม่เข้าใจในวิธีการเล่น เพราะก่อนที่นำไปให้น้องๆเล่น ได้นำสื่อไปวางเพื่อเร้าความสนใจของเด็กก่อน
เด็กได้เข้ามาดูแต่ยังพบว่า เด็กยังไม่เกิดความสนุกสนาน 

-ได้เข้าไปอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นเด็กเริ่มเข้าใจและเกิดความอยากเล่นมากขึ้น

-เด็กๆเริ่มสนุกกับการเล่นสื่อกับเพื่อนเพราะได้ทอยลูกเต๋าและไได้ลุ้น ทำให้เด็กเกิดอยากเล่นอีกรอบ 

ปัญหาที่พบ

-ลูกเต๋าใหญ่เกินไปทำให้เด็กหยิบจับได้ยาก (ได้ทำไปแก้ไขปรับปรุงแล้ว)
-ไม่มีทีใส่ไข่เวลาเด็กนับแล้ววางไว้กับพื้น 





ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง


ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ




การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)

การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)











                         หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่

                          1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ์และตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเลือกและการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอดทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่เฉพาะในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น

                          2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลาเพียงพอที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาสเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาสในการแก้ปัญหามากขึ้นด้วย

                           3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจและจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง

                          4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตนกําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการคิดควบคู่ไปกับการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองด้วย

                         5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหาความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญซํ้าแล้วซํ้าอีกในชีวิตประจําวันอย่างเป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเป็นเสมือนกรอบความคิดที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือกระทําเราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะต้องหามาให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบการณ์สำคัญเป็นกรอบความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12
(วันที่25เมษายน 2561)


ความรู้ที่ได้รับ





 วันนี้ก่อนเข้าเรียนได้นำสื่อที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ (ถาดไข่) มาให้เด็กๆอนุบาล 2 ได้ทดลองเล่น
หลังจากที่เด็กๆ เด็กๆชอบและเข้าใจในสื่อที่พวกเราได้ทำขึ้น สื่อของพวกเราได้สอนเรื่อง การนับเลข
การเปรียบเทียบจำนวน การสังเกต ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานด้วยค่ะ



นำเสนอสื่อการจัดประสบการ์ณคณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้(ถาดลองไข่)กลุ่ม 121









หลังจากที่นำเสนอและจัดสื่อเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้คำแนะว่าควรปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนไหน
เพื่อให้สื่อออกมาสมบูรณ์และมีคุณค่ามากยิ่งขึ่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย 


และอาจารย์ได้สอนและทบทวนเกี่ยวกับการเรียนเรื่องขั้นนามธรรม ขั้นอนุรักษ์ว่าเป็นอย่างไร
และเราจะจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างไรให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก 


ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ



วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11
(วันที่20เมษายน 2561)



 

ความรู้ที่ได้รับ




          วันนี้อาจารย์นัดดูความคืบหน้าของงานคือสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากวัสดุเหลือใช้คือแฝงไข่
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่ม ว่าต้องแก้ไข้หรือต้องเพิ่มเติมในส่วนไหนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

  กลุ่มของดิฉันทำสื่อคือเกี่ยวกับการเปรียบเทียบจำนวนอาจารย์ให้คำแนะนำให้ไปลองเล่นกับเด็ก


การนำเสนอ



นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส นำเสนอบทความเรื่อง นิทานกับสื่อการสอนคณิตศาสตร์
               สรุป การนำนิทานมาใช้สร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถใช้นิทานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนิทานพื้นบ้านที่เล่ากันมาช้านานโดยอาจมีการดัดแปลงเนื้อหาบ้างเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน หรือครูผู้สอนอาจแต่งเรื่องราวของนิทานขึ้นเองโดยผูกโยงสถานการณ์ใกล้ตัวของผู้เรียน เพื่อสร้างเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ จูงใจให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนโยงไปสู่เนื้อหาสาระที่จะสอดแทรกหรือบูรณาการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนในที่สุดการแต่งนิทานเพื่อนำมาใช้จัดกระบวนการเรียนรู้มีหลักสำคัญ คือ เรื่องราวของนิทานควรมีความสนุกสนาน กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ หรือเกิดปมประเด็นปัญหาที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ที่จะนำไปสู่การปมปัญหาที่จะให้ผู้เรียนหาคำตอบและเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ หากเรื่องเล่าสนุกและผู้เล่าสามารถเล่าได้อย่างสนุกสนาน ชวนให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ น่าตื่นเต้นและมีการทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไป นักเรียนก็จะอยากรู้จนต้องเก็บไปคิดและพยายามหาคำตอบด้วยตนเอง นั่งคือความสำเร็จของนิทานที่จะกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเรียนของเด็กได้


นางสาวปิยะธิดา ประเสริฐสังข์ นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง การนับเลขจากสิ่งรอบตัว
จากวีดิโอข้างต้นจะเห็นได้ว่าคุณครูสอนให้เด็กปฐมวัยนับเลข 1-10 โดยเปรียบเทียบจากสิ่งต่างๆรอบตัว เช่น เลข 1 เหมือนเสาธง เลข 2 เหมือนเป็ดไหว้น้ำ เพราะเป็ดมีหัวงอเหมือนเลข 2 เลข 3 เหมือนนกบิน เป็นต้น ระหว่างการคุณครูก็ให้เด็กพูดและทำท่างทางประกอบด้วย ซึ่งการสอนในลักษณะนี้จะทำให้เด็กจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีค่ะ 





นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา นำเสนอบทความเรื่อง พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย 1-6ปี

เทคนิคช่วยส่งเสริมลูก : เด็กๆ วัยนี้ส่วนใหญ่เริ่มจำชื่อเรียกของตัวเลขต่างๆ ได้แล้วค่ะ (รู้ว่า 1 คือหนึ่ง 2 คือสอง…) กิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับวัยนี้ อาจจะเป็น การหาตัวเลข เช่น ให้เด็กๆ หยิบตัวเลขที่เราพูดออกจากกอง หาตัวเลขจากในหนังสือ หรือชี้ตัวเลขจากสถานที่รอบๆ ตัว แล้วตอบว่าเป็นเลขอะไร เป็นต้นค่ะ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยเรื่องความจำแล้ว ยังฝึกให้เด็กๆ รู้จักการสังเกตอีกด้วยนะคะ นอกจากนี้ การเริ่มสอบนับจำนวนแบบง่ายๆ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับเด็กวัยนี้ โดยอาจจะสอนการนับผ่านเพลง (เช่นเพลง 5 little monkeys , 3 little ducks) ซึ่งวิธีนี้ครูพิมได้ใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อให้เด็กๆ สนุกสนานกับการนับ และมีทัศนคติที่ดีกับเรื่องของตัวเลขค่ะ

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย




ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ


วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10
(วันที่ 29 มีนาคม 2561)


ความรู้ที่ได้รับ


นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย นำเสนอวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน

สรุป การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสานเป็นกิจกกรมหนึ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายนอกจากการประกอบอาหารกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีการทำเป็นขัั้นตอนและเป็นกิจกกรมที่ส่งเสริมทักษะที่สำคัญหลายด้าน  โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานในการสังเกต เปรียบเทียบจัดหมวดหมู่  เรียงลำดับและรู้ค่าจำนวน 


    


นางสาวประภัสสร แทนด้วง นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง ตัวเลขกับเด็กอนุบาล 

สรุป   ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรทบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็กๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะแก้ปัญหาคริตศาสตร์ด้วยตัวเองและพัฒนาทักษะ เช่น การจดจำตัวเลข การจำลำดับและคำนวณไปด้วย ในรายการครูจะสาธิตวิธีการประเมินเด็กๆผ่านการสังเกตในแต่ละวันและวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมเพื่อวานแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็กๆ รู้สึกสนุกกับวิชาตั้งแต่ชั้นเล้กๆผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่นๆก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วย 


กิจกกรม


และหลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้แฝงไข่เพื่อให้พวกเราคิดสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ว่าเราสามารถออกแบบสื่อได้แบบไดบ้างที่สอดคร้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

การประเมิน 

ประเมินตนเอง: ตั้งใจทำกิจกรรมค่ะและสนุกกับการเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจและตอบคำถามอาจารย์ได้ดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกมากๆเลยค่ะวันนี้มีกิจกกรมให้ทำหลากหลาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
( วันที่23มีนาคม 2561)



ความรู้ที่ได้รับ




นางสาวทิพย์วิมล นวลอ่อน นำเสนอสื่อการเรียนการสอนเรื่อง  ครูมืออาชีพ - คณิตในชีวิตประจำวัน

สรุป   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สอนอย่างไรให้สนุกและมีชีวิตชีวา เริ่มที่ประเทศอังกฤษในการสอนวิชาคณิตศาตร์แก่เด็กๆจะแสดงให้เห็นถึงวิธีการสอนคณิตศาตร์ของพวกเขา ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน 



นางสาวสุชัญญา บุญญบุตร นำเสนอบทความเรื่อง รียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม

สรุป   พ่อและแม่ต้องปลูกฝังทัศนะคติทางคณิตศาสตร์ไปในทางบวกตั้งแต่ยังลูกยังเด็กและเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปพร้อมกับลูก เพื่อให้ลูกประสบผลสำเร็จในการเรียนและเป็นประโยชน์กับพ่อแม่พัฒนาเซลล์สมองป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
1.ทำงานร่วมกับคุณครูในโรงเรียน  โดยพ่อแม่ ต้องคอยดูแลลูกในการเรียนคณิตศาสตร์ ถามความเข้าใจของลูกในแต่ละวันที่เรียนคณิตศาสตร์  รู้รูปแบบการสอนของคุณครูในโรงเรียน  หากลูกมีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์ต้องช่วยลูกแก้ปัญหาและขอคำแนะนำจากคุณครูที่โรงเรีนยน หรือ เรียนพิเศษคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
2.พ่อและแม่ต้องทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและเป็นเรื่องใกล้ตัว   เช่น เมื่อลูกยังเล็ก  ก็สอนเรื่องรอบตัวเด็ก เรื่องทิศทาง  การแยกรูปทรง   การพับกระดาษ   เกมกระดาษต่างๆ เช่น  เกมเศรษฐี    สื่อทางอินเตอร์เน็ต  ยูทูป  การ์ตูนสอนนับเลข
3.พ่อและแม่ต้องสอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม จับต้องได้ทุกอย่าง ฝึกฝนการทำซ้ำๆเพื่อให้เด็กจดจำได้  และ ถามตอบปัญหา แลกเปลี่ยนความรู้กับลูกในเรื่องคณิตศาสตร์รอบตัว รวมทั้งเรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับตัวเด็ก


นางสาวกฤษณา กบขุนทด นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง กิจกกรรมการหนีบให้ถูก 

สรุป ก่อนเริ่มเข้าสู่กิจกกรมเพื่อนมีขั้นนำขั้นสอนขั้นสรุป และก่อนเข้ากิจกกรมมีการใช้เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
และมีจานที่เขียนตัวเลขไว้ให้เด็กๆนำที่หนีบออกมาหนีบตามจำนวน กิจกกรมนี้เด็กสามารถรู้จักเลขฮินดูอาราบิค
และเด็กรู้จักจำนวนและสามารถนับตัวเลขได้และเกิดความสนุกสนาน 


กิจกรรม

  
   
  อาจารย์ให้แบ่งช่องเป็น10ช่องและให้เราวาดรูปทรงว่าเราสามารถวาดได้กี่รูปและเป็นทรงอะไรบ้าง


และต่อมาอาจารย์ให้เราตัดกระดาษและเราดูว่ารูปที่เราตัดออกมาตรงตามแผ่นที่ตัดออกมาหรือไม่


สำหรับการเรียนวันนี้เรียนเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์นั้นสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบซึ่งวันนี้อาจารย์ได้สอนกการจัดประสบการณ์ตามสาระการเรียนรู้ทั้งหมด 6 สาระ โดยการให้นักศึกษาได้ลงมือทำ
การจัดประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นการตัด การพบ หรือ การใช้ชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย สามรถนำมาเป็นการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ 


  การประเมิน  

ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ






วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
(วันที่ 16 มีนาคม 2561)




ความรู้ที่ได้รับ 


วันนี้ก่อนเข้าสู้บทเรียน น .ส วัชรา ค้าสุกร นำเสนอ สื่อการสอนคณิตศาตร์



สรุปจากคลิปวีดีโอ

       ก่อนเริ่มเรียน ร้องเพลงเก็บเด็ก เพื่อให้เด็กอยู่ในความสงบ เริ่มกิจกรรม 
ชื่อกิจกรรมว่า "แม่ไก่ออกไข่กี่ฟอง" โดยให้เด็กๆ นับจำนวนไข่ ของแม่ไก่แต่ละตัว โดยให้เด็กแต่ละคน มาเปลี่ยนเพื่อหยิบไข่ของแม่ไก่  เพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมและการกล้าแสดงออก เมื่อเด็กๆนับไข่
ของแม่ไก่เสร็จ จะมีเฉลยอยู่ที่ตะกร้าใส่ไข่ ว่าแม่ไก่ตัวที่เด็กๆนับ จำนวนถูกต้องหรือเปล่า



วันนี้เรียนเรื่อง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับทั้ง
6สาระการเรียนรู้โดยกิจกรรมนั้นสามารถให้เด็กๆปฐมวัยได้ความรู้หลายด้าน 




และอาจารย์ได้แนว สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ มีดังนี้ 




·  จำนวนและการดำเนินการ: ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง การดำเนินการของจำนวน อัตราส่วน ร้อยละ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง


·  การวัด: ความยาว ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตรและความจุ เงินและเวลา หน่วยวัดระบบต่าง ๆ การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัด อัตราส่วนตรีโกณมิติ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด และการนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ


·  เรขาคณิต:· รูปเรขาคณิตและสมบัติของรูปเรขาคณิตหนึ่งมิติ สองมิติ และสามมิติ การนึกภาพ แบบจำลองทางเรขาคณิต  ทฤษฎีบททางเรขาคณิต  การแปลงทางเรขาคณิต (geometric transformation)ในเรื่องการเลื่อนขนาน (translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation)

     

·  พีชคณิต: แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน เซตและการดำเนินการของเซต การให้เหตุผล นิพจน์ สมการ ระบบสมการ อสมการ กราฟ ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต อนุกรมเลขคณิต และอนุกรมเรขาคณิต


·  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น: การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม การกำหนดวิธีการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล  ค่ากลางและการกระจายของข้อมูล  การวิเคราะห์และการแปลความข้อมูล การสำรวจความคิดเห็น ความน่าจะเป็น   การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน 

·  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


การประเมิน

ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตอบคำถามอาจารย์ได้ดีค่ะและเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนและให้คำแนะนำการนำเสนอดีมากค่ะ