วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10
(วันที่ 29 มีนาคม 2561)


ความรู้ที่ได้รับ


นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย นำเสนอวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน

สรุป การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสานเป็นกิจกกรมหนึ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายนอกจากการประกอบอาหารกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีการทำเป็นขัั้นตอนและเป็นกิจกกรมที่ส่งเสริมทักษะที่สำคัญหลายด้าน  โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานในการสังเกต เปรียบเทียบจัดหมวดหมู่  เรียงลำดับและรู้ค่าจำนวน 


    


นางสาวประภัสสร แทนด้วง นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง ตัวเลขกับเด็กอนุบาล 

สรุป   ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรทบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็กๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะแก้ปัญหาคริตศาสตร์ด้วยตัวเองและพัฒนาทักษะ เช่น การจดจำตัวเลข การจำลำดับและคำนวณไปด้วย ในรายการครูจะสาธิตวิธีการประเมินเด็กๆผ่านการสังเกตในแต่ละวันและวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมเพื่อวานแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็กๆ รู้สึกสนุกกับวิชาตั้งแต่ชั้นเล้กๆผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่นๆก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วย 


กิจกกรม


และหลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้แฝงไข่เพื่อให้พวกเราคิดสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ว่าเราสามารถออกแบบสื่อได้แบบไดบ้างที่สอดคร้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

การประเมิน 

ประเมินตนเอง: ตั้งใจทำกิจกรรมค่ะและสนุกกับการเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจและตอบคำถามอาจารย์ได้ดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกมากๆเลยค่ะวันนี้มีกิจกกรมให้ทำหลากหลาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
( วันที่23มีนาคม 2561)



ความรู้ที่ได้รับ




นางสาวทิพย์วิมล นวลอ่อน นำเสนอสื่อการเรียนการสอนเรื่อง  ครูมืออาชีพ - คณิตในชีวิตประจำวัน

สรุป   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สอนอย่างไรให้สนุกและมีชีวิตชีวา เริ่มที่ประเทศอังกฤษในการสอนวิชาคณิตศาตร์แก่เด็กๆจะแสดงให้เห็นถึงวิธีการสอนคณิตศาตร์ของพวกเขา ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน 



นางสาวสุชัญญา บุญญบุตร นำเสนอบทความเรื่อง รียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม

สรุป   พ่อและแม่ต้องปลูกฝังทัศนะคติทางคณิตศาสตร์ไปในทางบวกตั้งแต่ยังลูกยังเด็กและเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปพร้อมกับลูก เพื่อให้ลูกประสบผลสำเร็จในการเรียนและเป็นประโยชน์กับพ่อแม่พัฒนาเซลล์สมองป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
1.ทำงานร่วมกับคุณครูในโรงเรียน  โดยพ่อแม่ ต้องคอยดูแลลูกในการเรียนคณิตศาสตร์ ถามความเข้าใจของลูกในแต่ละวันที่เรียนคณิตศาสตร์  รู้รูปแบบการสอนของคุณครูในโรงเรียน  หากลูกมีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์ต้องช่วยลูกแก้ปัญหาและขอคำแนะนำจากคุณครูที่โรงเรีนยน หรือ เรียนพิเศษคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
2.พ่อและแม่ต้องทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและเป็นเรื่องใกล้ตัว   เช่น เมื่อลูกยังเล็ก  ก็สอนเรื่องรอบตัวเด็ก เรื่องทิศทาง  การแยกรูปทรง   การพับกระดาษ   เกมกระดาษต่างๆ เช่น  เกมเศรษฐี    สื่อทางอินเตอร์เน็ต  ยูทูป  การ์ตูนสอนนับเลข
3.พ่อและแม่ต้องสอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม จับต้องได้ทุกอย่าง ฝึกฝนการทำซ้ำๆเพื่อให้เด็กจดจำได้  และ ถามตอบปัญหา แลกเปลี่ยนความรู้กับลูกในเรื่องคณิตศาสตร์รอบตัว รวมทั้งเรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับตัวเด็ก


นางสาวกฤษณา กบขุนทด นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง กิจกกรรมการหนีบให้ถูก 

สรุป ก่อนเริ่มเข้าสู่กิจกกรมเพื่อนมีขั้นนำขั้นสอนขั้นสรุป และก่อนเข้ากิจกกรมมีการใช้เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
และมีจานที่เขียนตัวเลขไว้ให้เด็กๆนำที่หนีบออกมาหนีบตามจำนวน กิจกกรมนี้เด็กสามารถรู้จักเลขฮินดูอาราบิค
และเด็กรู้จักจำนวนและสามารถนับตัวเลขได้และเกิดความสนุกสนาน 


กิจกรรม

  
   
  อาจารย์ให้แบ่งช่องเป็น10ช่องและให้เราวาดรูปทรงว่าเราสามารถวาดได้กี่รูปและเป็นทรงอะไรบ้าง


และต่อมาอาจารย์ให้เราตัดกระดาษและเราดูว่ารูปที่เราตัดออกมาตรงตามแผ่นที่ตัดออกมาหรือไม่


สำหรับการเรียนวันนี้เรียนเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์นั้นสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบซึ่งวันนี้อาจารย์ได้สอนกการจัดประสบการณ์ตามสาระการเรียนรู้ทั้งหมด 6 สาระ โดยการให้นักศึกษาได้ลงมือทำ
การจัดประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นการตัด การพบ หรือ การใช้ชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย สามรถนำมาเป็นการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ 


  การประเมิน  

ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ






วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
(วันที่ 16 มีนาคม 2561)




ความรู้ที่ได้รับ 


วันนี้ก่อนเข้าสู้บทเรียน น .ส วัชรา ค้าสุกร นำเสนอ สื่อการสอนคณิตศาตร์



สรุปจากคลิปวีดีโอ

       ก่อนเริ่มเรียน ร้องเพลงเก็บเด็ก เพื่อให้เด็กอยู่ในความสงบ เริ่มกิจกรรม 
ชื่อกิจกรรมว่า "แม่ไก่ออกไข่กี่ฟอง" โดยให้เด็กๆ นับจำนวนไข่ ของแม่ไก่แต่ละตัว โดยให้เด็กแต่ละคน มาเปลี่ยนเพื่อหยิบไข่ของแม่ไก่  เพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมและการกล้าแสดงออก เมื่อเด็กๆนับไข่
ของแม่ไก่เสร็จ จะมีเฉลยอยู่ที่ตะกร้าใส่ไข่ ว่าแม่ไก่ตัวที่เด็กๆนับ จำนวนถูกต้องหรือเปล่า



วันนี้เรียนเรื่อง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับทั้ง
6สาระการเรียนรู้โดยกิจกรรมนั้นสามารถให้เด็กๆปฐมวัยได้ความรู้หลายด้าน 




และอาจารย์ได้แนว สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ มีดังนี้ 




·  จำนวนและการดำเนินการ: ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง การดำเนินการของจำนวน อัตราส่วน ร้อยละ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง


·  การวัด: ความยาว ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตรและความจุ เงินและเวลา หน่วยวัดระบบต่าง ๆ การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัด อัตราส่วนตรีโกณมิติ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด และการนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ


·  เรขาคณิต:· รูปเรขาคณิตและสมบัติของรูปเรขาคณิตหนึ่งมิติ สองมิติ และสามมิติ การนึกภาพ แบบจำลองทางเรขาคณิต  ทฤษฎีบททางเรขาคณิต  การแปลงทางเรขาคณิต (geometric transformation)ในเรื่องการเลื่อนขนาน (translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation)

     

·  พีชคณิต: แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน เซตและการดำเนินการของเซต การให้เหตุผล นิพจน์ สมการ ระบบสมการ อสมการ กราฟ ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต อนุกรมเลขคณิต และอนุกรมเรขาคณิต


·  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น: การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม การกำหนดวิธีการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล  ค่ากลางและการกระจายของข้อมูล  การวิเคราะห์และการแปลความข้อมูล การสำรวจความคิดเห็น ความน่าจะเป็น   การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน 

·  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


การประเมิน

ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตอบคำถามอาจารย์ได้ดีค่ะและเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนและให้คำแนะนำการนำเสนอดีมากค่ะ
  




วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7
(วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561


ความรู้ที่ได้รับ






                   นางสาววัชรา ค้าสุกร นำเสนอเสนอสื่อการสอนคณิตศาตร์ "สื่อการสอนคณิตคิดสนุก"

สรุป เป็นสื่อที่ช่วยในการนับจำนวของเด็กซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจน
จากสื่อวิดีโอนี้ โดยเน้นฝึกทักษะการใช้ตัวเลขแทนจำนวนสัตว์หรือสิ่งของต่างๆที่พบในชีวิตประจำวันของเด็ก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-3 ปี



นางสาวเพ็ญประภา บุญมา นำเสนอบทความเรื่อง สอนกการเรียนเสริมเลขให้ลูกวัยอนุบาล

สรุป จากบทความได้พูดเกี่ยวกับการการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก มักถูกคาดหวังสูง โดยถูกมุ่งหวังให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ให้ได้ผลการเรียนที่ดีที่สุด แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องกระบวนการคิดของเด็กว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมถึงตอบเช่นนี้ ซึ่งหากพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็กแล้ว จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี การเรียนคณิตศาสตร์ของหนูวัยอนุบาลนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ จริงอยู่ที่เราต่างหวังผลที่คำตอบ แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไรจะเห็นได้ว่าการส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ นั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมุ่งที่คำตอบของคำถามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจว่าคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย ไม่ใช่ว่าฝึกครั้งสองครั้งพอลูกทำไม่ได้ก็โมโหโกรธาลูกเสียยกใหญ่ เพราะฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่มาก มาก และมากจนเกินไป






นายปฎิฎาน จินดาดวง นำเสนอวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกกรรมการเพราะปลูกพืช สรุป กิจกรรมการปลูกพืชนี้สามารถทำได้เด็กเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์คือ
เด็กรู้จักการเปรียบเทียบ การรู้ค่าจำนวน และการเรียงลำดับ

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ 
http://thesis.swu.ac.th

การสอนจะสอนเด็กให้ดูจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นหลักในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้   มี 2 ส่วน    ดังนี้

1.ประสบการณ์สำคัญ    ได้แก่    ด้านร่างกาย   ด้านอารมณ์-จิตใจ   ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา
2.สาระที่ควรเรียนรู้    ได้แก่    เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก    เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
  โดยดูจากความสนใจของเด็ก  ปัญหาของเด็ก  เมื่อเด็กมีความสนใจก็นำไปทำเป็นโปรเจค Apporach  และต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เลือกและตัดสินใจได้อย่างอิสระ
ถ้าเด็กมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า เกิดการเรียนรู้  แต่ถ้าเด้กไม่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่า เกิดการรับรู้


การประเมิน

ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตอบคำถามอาจารย์ได้ดีค่ะและเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนและให้คำแนะนำการนำเสนอดีมากค่ะ
  


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
( วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561)




ความรู้ที่ได้รับ 

 วันนี้อาจารย์อาจารย์ได้ทบทวนและอธิบายเกี่ยวกับทฤษฤีการเรียนรู้ของนักการศึกษา ดังนี้
เพียเจท์ (การเรียนรู้ด้านสติปัญญา)  ธอร์นไดด์ (การเรียนรู้จากรูปธรรม นามธรรม )
สกินเนอร์ (การเสริมแรง) บรูเนอร์


หลักของเพียเจท์ 

เพียเจท์ได้แบ่งพัฒนาการทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ เช่น เครื่องเล่นสนาม บล้อคต่างๆ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิศาสตร์ เช่น การแบ่งสี

 หลักของบรูเนอร์ 

1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ 
คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆการลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด 
เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม  
เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

หลักของธอร์นไดด์

ได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 กฎ คือ 
1.กฎแห่งความพร้อม
2. กฎแห่งการฝึกหัด
3. กฎแห่งผล 

ขอบข่ายหลักสูตรคณิศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1. การนับ (Counting) เช่น การนับรองเท้าของเพื่อนในห้อง การนับจำนวนเพื่อนในห้อง การนับจำนวนเลข
การนับวันเดือนปี การนับรูปภาพ การนับนิ้ว

2. ตัวเลข (Number) เช่น การอ่านวันที่ การชั่งน้ำหนักส่วนสูง

3. การจับคุ่ (Mateting) เช่น จับคู่สิ่งของที่เหมือนกัน การจับคู่ภาพ การจับคู่สิ่งที่ตรงข้ามกัน

4. การจัดประเภท (Classification) เช่น การจัดหมวดหมู่ เช่น ของใช้ ของเล่น เครื่องแต่งกาย

5. การเปรียบเทียบ (Compaarning) เช่น การเปรียบเทียบราคาสินค้า การเปรียบเทียบน้ำหนักส่วนสูง การเปรียบเทียบขนาดสิ่งของ การเปรียบเทียบจำนวนผู้หญิงผู้ชาย 

6. การจัดลำดับ (Ordering) เช่น การจัดลำดับจากมากไปน้อย จัดลำดับส่วนสูง 

7. รูปทรงเเละพื้นที่ (Shape and Space) เช่น รูปทรงเลขาคณิต รูปทรงของสิ่งของต่าง กิจกรรมทายขนาดรูปทรงให้เด็กได้ทายโดยคุณครูนำรูปทรงต่างๆมาให้เด็กๆดู

8. การวัด (Measurement) เช่น การวัดน้ำหนักส่วนสูง กิจกรรมให้เด็กได้ของวัดสิ่งของรอบๆตัวเช่น วัดขนาดของกระหนังสือ วัดขนาดของดินสอ

9. เซค (Set) เช่น การจัดกลุ่มเด็กผมสั้นเด็กผมยาว การจัดกลุ่มสิ่งของ การจัดหลุ่มเด็กผู้ชายเด็กผู้หญิง

10. เศษส่วน (Fraction) เช่น การแบ่งชิ้นของขนม 

11. การทำตามเเบบหรือตามลวดลาย (Patterning) เช่น การวาดรูปตามเส้นปะ การวาดภาพตามแบบตัวอย่าง

12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) เช่น การนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำเป็นของเล่น


  หลักการพัมนาความสามรถทางคณิคศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

1).เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนรูปธรรม คือ
      1.1  ขั้นใช้ของจริง    
      1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง   
      1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ
      1.4  ขั้นนามธรรม

2.)   เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายากเช่น การบอกชื่อสัตว์   การบอกวันและเวลา  รูปทรงภาชนะที่ใส่อาหาร   ชุดเครื่องแต่งกาย
3.) สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ   เช่น  จานจะมีรูปทรงกลม ทรงรี ไว้ใช้ใส่อาหารที่เด็กๆรับประทานกันอยู่ทุกวัน   แก้วน้ำ จะมีรูปทรงกระบอก เอาไว้ใส่น้ำ
4.) ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม  เช่น การรับประทานอาหารด้วยตนเอง เม่ิ่อเด็กมาโรงเรียนต้องฝึกจับช้อน-ส้อมด้วยตัวเอง  การจับดินสอในการเขียนชื่่อตัวเอง 
5.)  จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย  เช่น กิจกรรมการทำขนมปัง ได้รู้วิธีการทำและอุปกรณ์ใการทำ   กิจกรรมเต้นตามจังหวะเครื่่องดนตรี  ได้รู้จักเครื่องดนตรีและได้เคลื่อนไหวร่างกาย
6.) จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย  เช่น  กิจกรรมทำโมบาย ต้องทำตามขั้นตอนเพื่อให้ทำโมบายได้   กิจกรรมการระบายสีด้วยการปั้มหมึกสีมาระบายบนรูปภาพ
7.) จัดกิจกรรมทบทวน การตั้งคำถามจากกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้คิดและได้ตอบ 


การประเมิน 

ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ