วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
( วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561)




ความรู้ที่ได้รับ 

 วันนี้อาจารย์อาจารย์ได้ทบทวนและอธิบายเกี่ยวกับทฤษฤีการเรียนรู้ของนักการศึกษา ดังนี้
เพียเจท์ (การเรียนรู้ด้านสติปัญญา)  ธอร์นไดด์ (การเรียนรู้จากรูปธรรม นามธรรม )
สกินเนอร์ (การเสริมแรง) บรูเนอร์


หลักของเพียเจท์ 

เพียเจท์ได้แบ่งพัฒนาการทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ เช่น เครื่องเล่นสนาม บล้อคต่างๆ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิศาสตร์ เช่น การแบ่งสี

 หลักของบรูเนอร์ 

1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ 
คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆการลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด 
เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม  
เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

หลักของธอร์นไดด์

ได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 กฎ คือ 
1.กฎแห่งความพร้อม
2. กฎแห่งการฝึกหัด
3. กฎแห่งผล 

ขอบข่ายหลักสูตรคณิศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1. การนับ (Counting) เช่น การนับรองเท้าของเพื่อนในห้อง การนับจำนวนเพื่อนในห้อง การนับจำนวนเลข
การนับวันเดือนปี การนับรูปภาพ การนับนิ้ว

2. ตัวเลข (Number) เช่น การอ่านวันที่ การชั่งน้ำหนักส่วนสูง

3. การจับคุ่ (Mateting) เช่น จับคู่สิ่งของที่เหมือนกัน การจับคู่ภาพ การจับคู่สิ่งที่ตรงข้ามกัน

4. การจัดประเภท (Classification) เช่น การจัดหมวดหมู่ เช่น ของใช้ ของเล่น เครื่องแต่งกาย

5. การเปรียบเทียบ (Compaarning) เช่น การเปรียบเทียบราคาสินค้า การเปรียบเทียบน้ำหนักส่วนสูง การเปรียบเทียบขนาดสิ่งของ การเปรียบเทียบจำนวนผู้หญิงผู้ชาย 

6. การจัดลำดับ (Ordering) เช่น การจัดลำดับจากมากไปน้อย จัดลำดับส่วนสูง 

7. รูปทรงเเละพื้นที่ (Shape and Space) เช่น รูปทรงเลขาคณิต รูปทรงของสิ่งของต่าง กิจกรรมทายขนาดรูปทรงให้เด็กได้ทายโดยคุณครูนำรูปทรงต่างๆมาให้เด็กๆดู

8. การวัด (Measurement) เช่น การวัดน้ำหนักส่วนสูง กิจกรรมให้เด็กได้ของวัดสิ่งของรอบๆตัวเช่น วัดขนาดของกระหนังสือ วัดขนาดของดินสอ

9. เซค (Set) เช่น การจัดกลุ่มเด็กผมสั้นเด็กผมยาว การจัดกลุ่มสิ่งของ การจัดหลุ่มเด็กผู้ชายเด็กผู้หญิง

10. เศษส่วน (Fraction) เช่น การแบ่งชิ้นของขนม 

11. การทำตามเเบบหรือตามลวดลาย (Patterning) เช่น การวาดรูปตามเส้นปะ การวาดภาพตามแบบตัวอย่าง

12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) เช่น การนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำเป็นของเล่น


  หลักการพัมนาความสามรถทางคณิคศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

1).เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนรูปธรรม คือ
      1.1  ขั้นใช้ของจริง    
      1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง   
      1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ
      1.4  ขั้นนามธรรม

2.)   เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายากเช่น การบอกชื่อสัตว์   การบอกวันและเวลา  รูปทรงภาชนะที่ใส่อาหาร   ชุดเครื่องแต่งกาย
3.) สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ   เช่น  จานจะมีรูปทรงกลม ทรงรี ไว้ใช้ใส่อาหารที่เด็กๆรับประทานกันอยู่ทุกวัน   แก้วน้ำ จะมีรูปทรงกระบอก เอาไว้ใส่น้ำ
4.) ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม  เช่น การรับประทานอาหารด้วยตนเอง เม่ิ่อเด็กมาโรงเรียนต้องฝึกจับช้อน-ส้อมด้วยตัวเอง  การจับดินสอในการเขียนชื่่อตัวเอง 
5.)  จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย  เช่น กิจกรรมการทำขนมปัง ได้รู้วิธีการทำและอุปกรณ์ใการทำ   กิจกรรมเต้นตามจังหวะเครื่่องดนตรี  ได้รู้จักเครื่องดนตรีและได้เคลื่อนไหวร่างกาย
6.) จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย  เช่น  กิจกรรมทำโมบาย ต้องทำตามขั้นตอนเพื่อให้ทำโมบายได้   กิจกรรมการระบายสีด้วยการปั้มหมึกสีมาระบายบนรูปภาพ
7.) จัดกิจกรรมทบทวน การตั้งคำถามจากกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้คิดและได้ตอบ 


การประเมิน 

ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น