บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7
(วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561)
ความรู้ที่ได้รับ
นางสาววัชรา ค้าสุกร นำเสนอเสนอสื่อการสอนคณิตศาตร์ "สื่อการสอนคณิตคิดสนุก"
สรุป เป็นสื่อที่ช่วยในการนับจำนวของเด็กซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจน
จากสื่อวิดีโอนี้ โดยเน้นฝึกทักษะการใช้ตัวเลขแทนจำนวนสัตว์หรือสิ่งของต่างๆที่พบในชีวิตประจำวันของเด็ก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-3 ปี
นางสาวเพ็ญประภา บุญมา นำเสนอบทความเรื่อง สอนกการเรียนเสริมเลขให้ลูกวัยอนุบาล
สรุป จากบทความได้พูดเกี่ยวกับการการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก มักถูกคาดหวังสูง โดยถูกมุ่งหวังให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ให้ได้ผลการเรียนที่ดีที่สุด แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องกระบวนการคิดของเด็กว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมถึงตอบเช่นนี้ ซึ่งหากพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็กแล้ว จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี การเรียนคณิตศาสตร์ของหนูวัยอนุบาลนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ จริงอยู่ที่เราต่างหวังผลที่คำตอบ แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไรจะเห็นได้ว่าการส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ นั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมุ่งที่คำตอบของคำถามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจว่าคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย ไม่ใช่ว่าฝึกครั้งสองครั้งพอลูกทำไม่ได้ก็โมโหโกรธาลูกเสียยกใหญ่ เพราะฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่มาก มาก และมากจนเกินไป
นายปฎิฎาน จินดาดวง นำเสนอวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกกรรมการเพราะปลูกพืช สรุป กิจกรรมการปลูกพืชนี้สามารถทำได้เด็กเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์คือ
เด็กรู้จักการเปรียบเทียบ การรู้ค่าจำนวน และการเรียงลำดับ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ
http://thesis.swu.ac.th
การสอนจะสอนเด็กให้ดูจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นหลักในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้ มี 2 ส่วน ดังนี้
1.ประสบการณ์สำคัญ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา
2.สาระที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
โดยดูจากความสนใจของเด็ก ปัญหาของเด็ก เมื่อเด็กมีความสนใจก็นำไปทำเป็นโปรเจค Apporach และต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เลือกและตัดสินใจได้อย่างอิสระ
ถ้าเด็กมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า เกิดการเรียนรู้ แต่ถ้าเด้กไม่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่า เกิดการรับรู้
2.สาระที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
โดยดูจากความสนใจของเด็ก ปัญหาของเด็ก เมื่อเด็กมีความสนใจก็นำไปทำเป็นโปรเจค Apporach และต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เลือกและตัดสินใจได้อย่างอิสระ
ถ้าเด็กมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า เกิดการเรียนรู้ แต่ถ้าเด้กไม่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่า เกิดการรับรู้
การประเมิน
ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตอบคำถามอาจารย์ได้ดีค่ะและเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนและให้คำแนะนำการนำเสนอดีมากค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น